วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนรู้นอกห้องเรียน 6/9/56

บันทึกการเรียนรู้นอกห้องเรียน
การประเมินหลักสูตร
 
                  การประเมินหลักสูตรเป็นกระบวนการในการวัดและเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาวิเคราะห์พิจารณาตัดสินคุณค่าของหลักสูตรว่า หลักสูตรนั้นๆ มีประสิทธิภาพแค่ไหน เมื่อนำไปใช้แล้ว บรรลุตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดหรือไม่เพียงใด มีอะไรต้องแก้ไข  เพื่อนำผลมาใช้ในการตัดสินใจหาทางเลือกที่ดีกว่า
 
                  จุดมุ่งหมายของการประเมินหลักสูตร       (สุนีย์  ภู่พันธ์ . 2546. หน้า 250-251) 
 
                  1. เพื่อหาคุณค่าของหลักสูตรนั้น โดยดูว่า หลักสูตรที่จัดทำขึ้นนั้นสามารถสนองวัตถุประสงค์ ที่หลักสูตรนั้นต้องการหรือไม่  สนองความต้องการของผู้เรียนและสังคมอย่างไร
 
                  2. เพื่ออธิบายและพิจารณาว่าลักษณะของส่วนประกอบต่างๆ ของหลักสูตรในแง่ต่างๆ   เช่น  หลักการ  จุดมุ่งหมาย  เนื้อหาสาระ การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอนและการวัดผลว่าสอดคล้องต้องกันหรือไม่ หรือสนองความต้องการหรือไม่
 
                  3. เพื่อตัดสินว่าหลักสูตรมีคุณภาพดีหรือไม่ เหมาะสมหรือไม่เหมาะสมกับการนำไปใช้  มีข้อบกพร่องที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขอะไรบ้าง  การประเมินผลในลักษณะนี้ มักจะดำเนินไปในช่วงที่ขณะใช้หลักสูตร
 
                  4. เพื่อตัดสินว่า การบริหารงานด้านวิชาการและบริหารงานด้านหลักสูตร เป็นไปในทางที่ถูกต้องหรือไม่ เพื่อหาทางแก้ไขระบบการบริหารหลักสูตร  การนำหลักสูตรไปใช้ให้มีประสิทธิภาพ
 
                  5. เพื่อติดตามผลผลิตจากหลักสูตร คือผู้เรียนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหลังจากการผ่านกระบวนการทางการศึกษามาแล้วตามหลักสูตรว่าเป็นไปตามความมุ่งหวังหรือไม่
 
                  6. เพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไขสิ่งบกพร่องที่พบในองค์ประกอบต่างๆ ในหลักสูตร
 
                  7. เพื่อช่วยในการตัดสินว่าควรใช้หลักสูตรต่อไปหรือควรปรับปรุงพัฒนาหรือเพื่อยกเลิกการใช้หลักสูตรนั้นหมด การประเมินผลในลักษณะนี้ จะดำเนินการหลังจากที่ใช้หลักสูตรไปแล้วระยะหนึ่ง แล้วจึงประเมินเพื่อสรุปผลตัดสินว่าหลักสูตรมีคุณภาพดีหรือไม่ดี บรรลุตามเป้าหมายที่หลักสูตรกำหนดไว้มากน้อยเพียงใด  สนองความต้องการของสังคมเพียงใด เหมาะสมกับการนำไปใช้ต่อไปหรือไม่
 
 
 
              ประโยชน์ของการประเมินหลักสูตร
 
                  การประเมินผลหลักสูตร เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้เราทราบถึงคุณภาพและประสิทธิภาพของหลักสูตร  การประเมินผลมีประโยชน์ในการจัดการศึกษา การจัดทำหรือพัฒนาหลักสูตรต้องอาศัยผลจากการประเมินผลเป็นสำคัญ ประโยชน์ของการประเมินผลหลักสูตรมีดังนี้
 
                  1. ทำให้ทราบว่าหลักสูตรที่สร้างหรือพัฒนาขึ้นนั้น มีจุดดีหรือจุดเสียตรงไหน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนปรับปรุงให้ถูกจุด ส่งผลให้หลักสูตรมีคุณภาพดียิ่งขึ้น
 
                  2. สร้างความน่าเชื่อถือ  ความมั่นใจ  และค่านิยมที่มีต่อโรงเรียนให้เกิดในหมู่ประชาชน
 
                  3. ช่วยในการบริหารทางด้านวิชาการ  ผู้บริหารจะได้รู้ว่าควรจะตัดสินใจและสนับสนุน ช่วยเหลือหรือบริการทางใดบ้าง
 
                  4. ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้าใจในความสำคัญของการศึกษา
 
                  5. ส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับโรงเรียนมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้การเรียน
 
การสอนนักเรียนได้ผลดี ด้วยความร่วมมือกันทั้งทางโรงเรียนและทางบ้าน
 
                  6. ให้ผู้ปกครองทราบความเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ เพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไขร่วมกันระหว่างผู้ปกครองนักเรียนกับทางโรงเรียน
 
                  7. ช่วยให้การประเมินผลเป็นระบบระเบียบ  เพราะมีเครื่องมือและหลักเกณฑ์ทำให้เป็นเหตุผลในทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น
 
                  8. ช่วยชี้ให้เห็นคุณค่าของหลักสูตร
 
                  9. ช่วยให้สามารถวางแผนการเรียนในอนาคตได้ ข้อมูลของการประเมินผลหลักสูตร ทำให้ทราบเป้าหมายแนวทางและขอบเขตในการดำเนินการศึกษาของโรงเรียน
 
 
 
              ขั้นตอนการประเมินหลักสูตร
 
                  สุนีย์  ภู่พันธ์.  (2546)  ได้สรุปขั้นตอนการประเมินหลักสูตรไว้ ดังนี้
 
                  1. ขั้นกำหนดวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายในการประเมิน  การกำหนดจุดมุ่งหมายในการประเมินเป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการในการดำเนินการประเมินหลักสูตร ผู้ประเมินต้องกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการประเมินให้ชัดเจนว่าจะประเมินอะไรในส่วนใด ด้วยวัตถุประสงค์อย่างไร  เช่น ต้องการประเมินเอกสารหลักสูตรเพื่อดูว่าเอกสารหลักสูตรถูกต้อง สมบูรณ์ สามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพแค่ไหน   หรือจะประเมินการนำหลักสูตรไปใช้ในเรื่องอะไร แค่ไหน  การกำหนดวัตถุประสงค์ในการประเมินที่ชัดเจนทำให้เราสามารถกำหนดวิธีการ เครื่องมือ และขั้นตอนในการประเมินได้อย่างถูกต้องและทำให้การประเมินหลักสูตรดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลถูกต้องเป็นที่เชื่อถือได้
 
                  2. ขั้นกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการที่จะใช้ในการประเมินผล เกณฑ์การประเมินจะเป็นเครื่องบ่งชี้คุณภาพในส่วนของหลักสูตรที่ถูกประเมิน
 
                  3. ขั้นการสร้างเครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินหรือเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่จะมีผลทำให้การประเมินนั้นน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน เครื่องมือที่ใช้มีหลายอย่างซึ่งผู้ประเมินจะต้องเลือกใช้และสร้างอย่างมีคุณภาพ เชื่อถือได้และมีความเที่ยงตรงสูง
 
                  4. ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล ในขั้นนี้ผู้ประเมินต้องเก็บรวบรวมข้อมูลตามขอบเขตและระยะเวลาที่กำหนดไว้
 
                  5. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล  ในขั้นนี้ผู้ประเมินจะต้องกำหนดวิธีการจัดระบบข้อมูล พิจารณาเลือกใช้สถิติในการวิเคราะห์ที่เหมาะสม แล้วจึงวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้นโดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้
 
                  6. ขั้นสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลและรายงานผลการประเมิน
            7. ขั้นนำผลที่ได้จากการประเมินไปพัฒนาหลักสูตร

บันทึกการเรียนรู้ในห้องเรียน 5/9/56


บันทึกการเรียนรู้ในห้องเรียน

วันพฤหัสบดี ที่ 5 กันยายน 2556 อาจารย์วัยวุฒ อินทรวงศ์ ได้เข้าสอนในคาบเรียนในวิชา การพัฒนาหลักสูตร โดยอาจารย์ให้ศึกษาถึงองค์ประกอบของการประเมินดังนี้
องค์ประกอบของการประเมิน แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ ปัจจัย กระบวนการ และผลผลิต


  • องค์ประกอบด้านปัจจัย

1.      องค์ประกอบด้านผู้เรียน

2.      องค์ประกอบด้านครู

3.      องค์ประกอบด้านผู้ปริหารในการเรียน

4.      องค์ประกอบด้านปัจจัยสนับสนุน

  • องค์ประกอบด้านกระบวนการ

1.      องค์ประกอบด้านการบริการ

2.      องค์ประกอบด้านครู

3.      องค์ประกอบด้านนักเรียน

4.      องค์ประกอบด้านปัจจัยสนับสนุน

  • องค์ประกอบด้านผลผลิต
จากการที่อาจารย์วัยวุฒ  อินทรวงศ์ทำให้เรารู้ถึงองค์ประกอบในด้านต่างๆทั้งด้านปัจจัย กระบวนการ และผลผลิต

บันทึกการเรียนรู้นอกห้องเรียน 30/8/56


บันทึกการเรียนรู้นอกห้องเรียน
Out class: 30 สิงหาคม 2556

การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Directed Learning : SDL)

ความหมายการเรียนรู้ด้วยตนเองนักการศึกษาได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ด้วยตนเอง ดังนี้
สมคิด อิสระวัฒน์ (2538 : 4) ให้ความหมายการเรียนรู้ด้วยตนเองว่าเป็นการเรียนรู้ ที่ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มด้วยตนเอง โดยอาศัย
ความช่ วยเหลือหรือไม่ ก็ได้ ผู้เรียนวิเคราะห์ความต้องการที่ จะเรียนรู้ของตน กำหนดเป้าหมายในการเรียนรู้ แยกแยะ เจาะจง แหล่งข้อมูลในการเรียนรู้ คัดเลือกวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมและประเมินผลการเรียนรู้นั้น ๆ

ชัยฤทธิ์ โพธิสุวรรณ (2541 : 4) กล่าวว่า การเรียนรู้ด้วยตนเองคือ กระบวนการเรียนรู้ที่ ผู้เรียนจะด้วยความช่ วยเหลือสนับสนุนจาก
ภายนอกตัวผู้เรียนหรือไม่ก็ตาม ริเริ่มการเรียนรู้เลือกเป้าหมาย แสวงหา แหล่งทรัพยากรของการเรียนรู้ เลือกวิธีการเรียนรู้ จนถึงการประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเอง

โนลส์ (Knowles, 1975 : 18) ได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ด้วยตนเอง สรุปได้ว่า การเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นกระบวนการที่ผู้เรียน
คิดริเริ่ มการเรียนเอง โดยวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้ของตนกำหนดเป้าหมาย และสื่อการเรียน ติดต่อกับบุคคลอื่น หาแหล่งความรู้เลือกใช้ยุทธวิธีการเรียนรู้เสริมแผนการเรียนรู้ และประเมินผลการเรียนของตน ซึ่งอาจจะได้รับหรือไม่ได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่นก็ตาม

สเคเจอร์ (Skager, 1977 : 133) ให้ความหมาย การเรียนรู้ด้วยตนเอง ว่าเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ส่วนบุคคล ผู้เรียนมีเป้าหมายใน
การพัฒนาทักษะ ความสามารถในการวางแผน การบริหารการจัดการและการประเมินผลกิจกรรมการเรียนรู้ของตนเอง และในฐานะที่ เป็นสมาชิกของกลุ่มการเรียนที่ร่วมมือกัน
กริฟฟิน (Griffin, 1983 : 153) กล่าวว่า การเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เฉพาะของบุคคล โดยมีเป้าหมายที่จะ
พัฒนาการเรียนรู้ความสามารถในการวางแผน การปฏิบัติตามแผน และการประเมินผลการเรียนรู้ของตน

บรู๊คฟิลด์ (Brookfield, 1984 : 61) สรุปการเรียนรู้ด้วยตนเอง ว่า เป็นการแสวงหาความรู้โดยผู้เรียนเป็นผู้กำหนดเป้าหมายการเรียนที่
ชัดเจน ควบคุมกิจกรรมการเรียนของตนในด้านเนื้อหาและวิธีการเรียนซึ่งอาจขอความช่วยเหลือในด้านต่างๆ เช่น การกำหนด และใช้หนังสือประกอบการเรียนหรือบทความต่างๆ จากบุคคลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเลือกวิธีการประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง

สรุปการเรียนรู้ด้วยตนเอง คือ กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนริเริ่มการเรียนรู้ด้วยตนเอง ตามความสนใจ ความต้องการ และความถนัด มีเป้าหมาย รู้จักแสวงหาแหล่ งทรัพยากรของการเรียนรู้ เลือกวิธีการเรียนรู้จนถึงการประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเอง โดยจะดำเนินการด้วยตนเองหรือร่วมมือช่วยเหลือกับผู้อื่นหรือไม่ก็ได้
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นคุณลักษณะที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิตที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการศึกษาในปัจจุบันที่
จะต้องมีส่งเสริมให้บุคคลมีคุณลักษณะของการชี้นำตนเองในการเรียนรู้เพื่อให้บุคคลมีประสบการณ์และมีศักยภาพในการแสวงหา ความรู้เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาตลอดชีวิตต่อไป
รูปแบบกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง วัฒนาพร ระงับทุกข์ (2545 : 50-51) ได้เสนอหลักการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ดังนี้คือ
1. ศึกษาผู้เรียนเป็นรายบุคคล เนื่ องจากผู้เรียนแต่ ละคนมีความแตกต่ างกันทั้งในด้านความสามารถในการเรียนรู้ วิธีการเรียนรู้
เจตคติ ฯลฯ ดังนั้น การจัดการเรียนรู้จึงต้องคำนึงถึงความแตกต่ างระหว่างบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านความสามารถในการเรียนรู้ และ
วิธีการเรียนรู้ โดยจัดการเรียนรู้ เนื้อหาและสื่อที่เอื้อต่อการเรียนรู้รายบุคคลรวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้นำเอาประสบการณ์ของตนมาใช้ในการเรียนรู้ด้วย
2. จัดให้ผู้เรียนมีส่วนรับผิดชอบในการเรียน การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีเมื่อผู้เรียนมีส่วนร่วมรับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเอง ดังนั้น การ
จัดการเรียนรู้จึงควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีบทบาทตั้งแต่ การวางแผนกำหนดเป้าหมายการเรียนที่สอดคล้องกับความต้องการของตน หรือกลุ่มการกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียน การเลือกใช้วิธีการเรียนรู้การใช้แหล่งข้อมูลตลอดจนถึงการประเมินผลการเรียนของตน
3. พัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้เรียนจะต้อง
ได้รับการฝึกให้มีทักษะและยุทธศาสตร์การเรียนรู้ที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง เช่น การบันทึกข้อความ การจัดประเภทหมวดหมู่ การสังเกตการแสวงหาและใช้แหล่งความรู้ เทคโนโลยีและสื่อที่สนับสนุนการเรียนรวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์ในการตัดสินใจ แก้ปัญหากำหนดแนวทางการเรียนรู้และเลือกวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตนเอง
4. พัฒนาทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น การเรียนรู้ด้วยตนเอง
ไม่ ได้หมายความว่ าผู้เรียนต้องเรียนคนเดียว โดยไม่ มีชั้นเรียนหรือเพื่อนเรียน ยกเว้นการเรียนแบบรายบุคคล โดยทั่วไปแล้ว ในการเรียนรู้ด้วยตนเองผู้เรียนจะได้ทำงานร่ วมกับเพื่ อน กับครูและบุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องดังนั้นจึงต้องพัฒนาทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นให้กับผู้เรียน
เพื่ อให้รู้จักการทำงานเป็นทีม โดยเฉพาะอย่ างยิ่ งการทำกิจกรรมกลุ่ มร่วมกับเพื่อนที่มีความรู้ความสามารถ ทักษะเจตคติที่แตกต่างกัน เพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในกระบวนการเรียนรู้
5. พัฒนาทักษะการประเมินตนเอง และการร่วมมือกันประเมินในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการประเมินการ
เรียนรู้ ดังนั้น จึงต้องพัฒนาทักษะการประเมินให้แก่ผู้เรียน และสร้างผู้เรียนว่ า การประเมินตนเองเป็นส่ วนหนึ่ งของระบบ
ประเมินผล รวมทั้งยอมรับผลการประเมินจากผู้อื่นด้วย นอกจากนี้ต้องจัดให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์การประเมินผลหลาย ๆ รูปแบบ
6. จัดปัจจัยสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน สภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญอย่ างหนึ่ งในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ดังนั้น
บริเวณในโรงเรียนจึงต้องจัดให้เป็นแหล่งความรู้ที่นักเรียนจะค้นคว้าด้วยตนเองได้เช่น ศูนย์วิทยาการ บทเรียนสำเร็จรูป ชุดการสอน ฯลฯ รวมทั้งบุคลากร เช่น ครูประจำศูนย์วิทยบริการที่ช่วยอำนวยความสะดวกและแนะนำเมื่อผู้เรียนต้องการ
ดังนั้น หลักการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองผู้จัดกิจกรรมต้องศึกษาผู้เรียนเป็นรายบุคคล จัดให้ผู้เรียนมีส่วนรับผิดชอบ
ในการเรียน พัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน พัฒนาทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น พัฒนาทักษะการประเมินตนเอง และการร่วมมือกันประเมินและจัดปัจจัยสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน
สรุป
แนวคิดการเรียนรู้ด้วยตนเองมีแนวโน้มที่จะเป็นแนวคิดที่สำคัญของวงการการศึกษาผู้ใหญ่ ในอนาคต นอกจากนั้นคาดว่าจะเป็นแนวคิด
ที่มีพลังขับเคลื่อนให้วงการการศึกษาผู้ใหญ่ก้าวหน้าอย่างมาก อย่างไรก็ดียังควรคำนึงถึงการชี้นำตนเองในการเรียนรู้ หรือการเรียนรู้ด้วยตนเอง จะเน้นถึงความรับผิดชอบของบุคคลและเชื่อในศักยภาพที่ ไม่สิ้นสุดของมนุษย์ (never–ending potential of human) ในการเรียนรู้ด้วยตนเองที่ประสบผลสำเร็จผู้อำนวยความสะดวกต้องมีบทบาทในการร่วมปรึกษาแลกเปลี่ยนความคิด เป็นแหล่งความรู้ตามที่ผู้เรียนต้องการ มีความสัมพันธ์อันดีกับผู้เรียน มีส่วนร่วมในการถ่ายโอนบทบาทการเรียนการสอนและ
สนับสนุนให้ผู้เรียนคิดอย่างแตกฉาน (critical thinking)

บันทึกการเรียนรู้ในห้องเรียน 29/08/56


บันทึกการเรียนรู้ในห้องเรียน
วันที่ 29 สิงหาคม 2556 อาจารย์วัยวุฒ   อินทรวงศ์ อาจารย์ให้นักศึกษาส่งงานในในคาบนี้เป็นแบบรูปเล่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มได้จัดทำหลักสูตรกันนอกห้องเรียน

บันทึกการเรียนรู้นอกห้องเรียน 23/08/56

บันทึกการเรียนรู้นอกห้องเรียน
Out class: 23 สิงหาคม 2556
หลักสูตรการทำน้ำหมักชีวภาพ              
 
ความเป็นมา
          น้ำหมักชีวภาพ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเป็นของเหลวสีน้ำตาลโดยการสกัดอินทรีย์
วัตถุจากพืช ผักและผลไม้โดยวิธีธรรมชาติ ส่วนใหญ่จะเป็นการผลิตในระดับครัวเรือนและชุมชน โดยใช้เทคโนโลยีการผลิตพื้นบ้าน และมีสูตรและรูปแบบการผลิตที่แตกต่างกันไป อาทิเช่น การใช้จุลินทรีย์ในท้องถิ่น การใช้จุลินทรีย์เตรียมเฉพาะ การใช้น้ำตาล น้ำอ้อย น้ำผึ้งกากน้ำตาล ร่วมในกระบวนการผลิต เป็นต้น อีกทั้ง มีการเผยแพร่การใช้ประโยชน์ในหลายด้านได้แก่ ด้านสุขภาพ การเกษตรและสิ่งแวดล้อม
สำหรับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์น้ำหมักชีวภาพที่มีอยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลทางด้านการเกษตรและสิ่งแวดล้อม แต่สำหรับการบริโภค ยังพบปัญหาสำคัญได้แก่ ประชาชนยังขาดความรู้ ความเข้าใจ ขาดข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องของกระบวนการผลิต การบรรจุ การเก็บรักษา และการตรวจสอบคุณภาพซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำหมักชีวภาพ เพื่อให้มีความปลอดภัย และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภคอย่างแท้จริง ตระหนักถึงประสิทธิภาพในการใช้น้ำหมักชีวภาพ และประโยชน์ในการใช้น้ำหมักชีวภาพ  โดยมุ่งเน้นให้ความรู้ ความเข้าใจ และความสำคัญเกี่ยวกับน้ำหมักชีวภาพ การผลิต น้ำหมักชีวภาพเพื่อบริโภคในครัวเรือน ตลอดจนสุขลักษณะที่ดีของผู้ผลิต
 
ชุมชนบ้านขวาง  เป็นชุมชนที่มีอาณาเขต  ทางทิศเหนือติดต่อกับ หมู่ที่ 3 ตำบลท่างิ้ว ทางทิศใต้ติดต่อกับ หมู่ที่ 5 ตำบลนาทราย ทางทิศตะวันตกติดต่อกับ หมู่ที่ 4 ตำบลท่างิ้ว และทางทิศตะวันออกติดต่อกับ หมู่ที่ 3 ตำบลท่างิ้ว ชุมชนบ้านขวางชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา และรองลงมาก็คืออาชีพรับจ้าง ซึ่งรายได้ของหมู่บ้านเฉลี่ย 13,220,450 บาท/ปี ในชุมชนมีชาวบ้านที่นับถือศาสนาพุทธ 99% และนับถือศาสนาอิสลาม 1 %  การตั้งบ้านเรือนในชุมชนจะเรียงรายไปตามแนวสองข้างทางของถนน ชาวบ้านส่วนมากไม่เห็นความสำคัญของการใช้เงินที่ประหยัดและอดออม พบว่าเมื่อก่อนการทำนาของชาวบ้าน ส่วนใหญ่มีการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช แต่ตอนนี้มีการใช้น้ำหมักชีวภาพกันบ้างแล้ว และมีผู้ที่รู้เกี่ยวกับน้ำหมักชีวภาพน้อยมาก ทำให้ชาวบ้านบางส่วนต้องเอาเงินไปซื้อสารเคมี เพื่อการกำจัดศัตรูพืช
จากการสังเกต พบว่ามีชาวบ้านส่วนใหญ่จะใช้จ่ายเงินสิ้นเปลืองไปกับสารเคมี ซึ่งบ้างทีอาจจะทำให้มีสารเคมีตกค้างบ้าง เมื่อมองในภาพรวมแล้ว ชุมชนมีสภาพของชุมชนค่อนข้างอ่อนแอขาดการรวมกลุ่มที่ดี มีความสนใจในการรับรู้ข่าวสารน้อยมาก และขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ขาดประสบการณ์ในการประกอบอาชีพ จึงจัดเป็นชุมชนที่มีปัญหาอย่างยิ่ง ต่อการพัฒนาแนวคิดทางด้านเศรษฐกิจ ดังนั้นการสร้างจิตสำนึกในการใช้จ่าย อย่างประหยัด และเห็นคุณค่าทางด้านสิ่งแวดล้อมให้เกิดขึ้นกับประชาชนในชุมชนนี้ จึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น การสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนและพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ เกิดจิตสำนึก ตระหนัก และเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมสะอาดรอบชุมชน และการอยู่ร่วมกันของชุมชนจะนำไปลู่การมีส่วนร่วมและการพึ่งตนเองของชุมชน
จากข้อมูลดังกล่าว จึงสนใจที่จะทำการศึกษาเกี่ยวกับการทำน้ำหมักชีวภาพ ซึ่งจะได้นำไปใช้ประโยชน์ในการทำการเกษตร และใช้ในครัวเรือนซึ่งเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายของชาวบ้านในหมู่บ้าน
หลักการ
1.      เป็นหลักสูตรที่มุ่งให้ความรู้และส่งเสริมให้ชาวบ้านได้ลดค่าใช้จ่ายในด้านเกาตรกรรม
2.      เป็นหลักสูตรที่จัดทำขึ้น เพื่อตอบสนองต่อความอยู่ดีกินดีของประชากรในหมู่บ้าน
 
จุดประสงค์
1.      เข้าใจความหมายและความสำคัญของน้ำหมักชีวภาพ
2.      เข้าใจและสามารถจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์สำหรับการทำน้ำหมักชีวภาพ
3.      เข้าใจขั้นตอนและสามารถผสมส่วนประกอบต่างๆในการทำน้ำหมักชีวภาพ
4.      เข้าใจและสามารถผลปฏิบัติตามขั้นตอนการทำน้ำหมักชีวภาพต่างๆ ได้
5.      เข้าใจหลักวิธีการและสามารถนำน้ำหมักชีวภาพไปใช้ประโยชน์ได้
 
กลุ่มเป้าหมาย
1.      ประชาชนทั่วไปที่มีความต้องการเรียนรู้และศึกษาเกี่ยวกับการทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อการใช้ในชีวิตประจำวัน
2.      นักเรียนที่ต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับการทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อการศึกษาไปพัฒนาการเกษตร
 
ระยะเวลาเรียนและจำนวนหน่วยกิต
1.      ระยะเวลาของหลักสูตร
หลักสูตรการทำน้ำหมักชีวภาพใช้เวลาเรียน รวม 50  ชั่วโมง
1.1  เรียนรู้เนื้อหา จำนวน 14 ชั่วโมง
1.2  เรียนรู้จากการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมและการทำกิจกรรมตามที่กำหนด  จำนวน 36ชั่วโมง
2.      จำนวนหน่วยกิต
    หลักสูตรการทำน้ำหมักชีวภาพมีค่าเท่ากับ 5 หน่วยกิต (ระยะเวลาการเรียนรู้ 10 ชั่วโมงเท่ากับ 1หน่วยกิต)
โครงสร้างหลักสูตร
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับน้ำหมักชีวภาพ
-          ศึกษาเนื้อหาจำนวน 4 ชั่วโมง
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับน้ำหมักชีวภาพ
-          เนื้อหาศึกษาเนื้อหาจำนวน 4 ชั่วโมง
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 กรรมวิธีการทำน้ำหมักชีวภาพ
-          ศึกษาเนื้อหาจำนวน 3 ชั่วโมง
-          ทำกิจกรรมจำนวน 7 ชั่วโมง
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 น้ำหมักชีวภาพสูตรต่างๆ
-          ศึกษาเนื้อหาจำนวน 3 ชั่วโมง
-          ทำกิจกรรมจำนวน 12 ชั่วโมง
 
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ประโยชน์ของน้ำหมักชีวภาพและวิธีการนำไปใช้
-          ศึกษาเนื้อหาจำนวน 3 ชั่วโมง
-          ทำกิจกรรมจำนวน 14 ชั่วโมง
 
 
 
 

 
โครงสร้างหลักสูตร
 
 
 
 
 
เนื้อหาการเรียนรู้
จุดประสงค์การเรียนรู้
เนื้อหา
สื่อ/วัสดุอุปกรณ์
จำนวนชั่วโมง
ทฤษฎี
ปฏิบัติ
1.  ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับน้ำหมักชีวภาพ
1.      ผู้เรียนสามารถบอกความสำคัญ
ของน้ำหมักชีวภาพและสามารถบอการนำวัสดุในท้องถิ่นมาเป็นส่วนผสมได้
 
1.      ความหมายและความสำคัญของน้ำหมักชีวภาพ
2.      การนำวัสดุในท้องถิ่นมาเป็นส่วนผสม
–        ชุดวิชา
–        ภาพประกอบ\
–        วัตถุดิบ
4
 
2.  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับน้ำหมักชีวภาพ
1.      ผู้เรียนสามารถบอกข้อดีของการทำน้ำหมักชีวภาพและข้อควรรู้
2.      ผู้เรียนสามารถบอกข้อควรระวังในการใช้น้ำหมักชีวภาพ
 
1.      ข้อดีและจุดเด่นของการทำน้ำหมักชีวภาพ
2.      ข้อควรระวังในการใช้น้ำหมักชีวภาพ
 
–        ชุดวิชา
–        ภาพประกอบ\
 
4
 
 
 

 
 
 
รายวิชา
จุดประสงค์การเรียนรู้
เนื้อหา
สื่อ/วัสดุอุปกรณ์
จำนวนชั่วโมง
ทฤษฎี
ปฏิบัติ
3.  กรรมวิธีการทำน้ำหมักชีวภาพ
1.      ผู้เรียนสามารถบอกวิธีการเตรียมวัสดุสำหรับการทำน้ำหมักชีวภาพ
2.      ผู้เรียนสามารถบอกขั้นตอนการทำน้ำหมักชีวภาพ
3.      ผู้เรียนสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนการทำน้ำหมักชีวภาพได้อย่างถูกต้อง
1.      การเตรียมวัสดุสำหรับทำน้ำหมักชีวภาพ
2.      ขั้นตอนการทำน้ำหมักชีวภาพ
–        ชุดวิชา
–        ภาพประกอบ
–        วัตถุดิบในการทำน้ำหมักชีวภาพ
 
3
7
4.  น้ำหมักชีวภาพสูตรต่างๆ
1.      ผู้เรียนสามารถบอกขั้นตอนการทำน้ำหมักชีวภาพสูตรกำจัดศัตรูพืช
2.      ผู้เรียนสามารถบอกขั้นตอนการทำน้ำหมักชีวภาพสูตรซักล้าง
 
1.      สูตรกำจัดศัตรูพืช
2.      สูตรซักล้าง
 
–        ชุดวิชา
–        ภาพประกอบ
–        วัตถุดิบในการทำน้ำหมักชีวภาพ
 
3
12
 
 

 
 
 

รายวิชา
จุดประสงค์การเรียนรู้
เนื้อหา
สื่อ/วัสดุอุปกรณ์
จำนวนชั่วโมง
ทฤษฎี
ปฏิบัติ
5.  ประโยชน์ของน้ำหมักชีวภาพและวิธีการนำไปใช้
1.      ผู้เรียนสามารถบอกประโยชน์และวิธีการนำไปใช้น้ำหมักชีวภาพ
2.      ผู้เรียนสามารถบอกวิธีการดูแลและขั้นตอนการเก็บรักษาน้ำหมักชีวภาพได้อย่างถูกต้อง
3.      ผู้เรียนสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนการดูแลและการเก็บรักษาน้ำหมักชีวภาพได้อย่างถูกต้อง
1.      น้ำหมักชีวภาพใช้ในการเกษตร
2.      น้ำหมักชีวภาพใช้ในครัวเรือน
3.      ขั้นตอนการดูแลและการเก็บรักษา
–        ชุดวิชา
–        ภาพประกอบ
3
14
 
 
 
สื่อการเรียนรู้
 
            สื่อการเรียนรู้ตามหลักหลักสูตรการทำน้ำหมักชีวภาพนั้น ได้จัดทำเป็นรูปแบบของบอร์ดที่เกี่ยวข้องกับการทำน้ำหมักชีวภาพซึ่งจะจัดเกี่ยวกับการให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย โดยอาจจะเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญซึ่งอาจจะเป็นผู้เชี่ยวชาญทาการทำน้ำหมักชีวภาพ ซึ่งประกอบด้วยสื่อการสอน ดังนี้
 
1.      ใบประกอบการเรียนรู้ เช่น เอกสารเกี่ยวกับการทำน้ำหมักชีวภาพ
 
2.      วิดีโอ เกี่ยวกับการทำน้ำหมักชีวภาพซึ่งจะช่วยให้ผู้ฟังสนใจในเรื่องที่เราจะบรรยายมากกว่าการพูดเพียงอย่างเดียว ซึ่ง วิดีโอที่จะนำมาเป็นวิดีโอเกี่ยวกับการทำน้ำหมักชีวภาพ และให้ดูการเปรียบเทียบเชิงผลผลิตระหว่างผู้ที่ใช้สารเคมีกับการทำน้ำหมักชีวภาพ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักมากขึ้น
 
3.      กิจกรรมต่างๆ เพื่อให้กลุ่มชาวบ้านได้ทำน้ำหมักชีวภาพใช้เอง
 
 
 
กระบวนการเรียนรู้
 
 
 
ขั้นตอนที่ 1 สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรและวิธีการเรียนรู้ โดยการศึกษาข้อมูลจากคู่มือและวีดีทัศน์ปฐมนิเทศ บุคคลที่สามารถให้ความรู้ได้
 
 
 
ขั้นตอนที่ 2 วางแผนการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยในเบื้องต้นต้องเตรียมความพร้อมของตนเอง และเวลาเพื่อการเรียนรู้ ซึ่งในการวางแผนการเรียนรู้ต้องกำหนดระยะเวลาการศึกษา การทดลองและฝึกปฏิบัติในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ ผู้เรียนอาจปรับหรือยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสมกับพื้นฐานและประสบการณ์ที่มีอยู่ และตนเองต้องมีความรู้เพียงพอด้วย
 
 
 
ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาเนื้อหาและทำกิจกรรมหรือลงมือปฏิบัติ      
 
 

 
 
 
การวัดผลประเมินผล
 
 
 
ทำการวัดและประเมินผล โดยดูจากจำนวนผู้เข้าร่วมอบรมและให้ความรู้เรื่อง การทำน้ำหมักชีวภาพและจำนวนผู้เข้าร่วมทำกิจกรรมการทำน้ำหมักชีวภาพ ซึ่งเกณฑ์การประเมินผล 50% ของจำนวนประชากรทั้งหมด
 
 
 
การจบหลักสูตร
 
 
 
            กลุ่มผู้เรียนที่จะได้รับการพิจารณาให้จบหลักสูตรการทำน้ำหมักชีวภาพ จะต้องได้คะแนนการประเมินในส่วนของการเข้าร่วมอบรมและการเข้าร่วมกิจกรรมการทำน้ำหมักชีวภาพ ไม่น้อยกว่า 50%ของผู้เข้าอบรม
 
 

 
คณะผู้จัดทำ
 
ที่ปรึกษา
 
อาจารย์วัยวุฒ อินทวงศ์
 
รวบรวมเนื้อหาและจัดทำต้นฉบับ
 
 นางสาวรัตนาภรณ์   โกสล
 
ฝ่ายอุปกรณ์ สถานที่ และจัดทำสื่อ
 
 นายฐิตินันท์   อาจหนู
 
ผู้พิมพ์ต้นฉบับ
 
 นางสาวรัฐดาภรณ์   เกตุหนู