วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนรู้นอกห้องเรียน 23/08/56

บันทึกการเรียนรู้นอกห้องเรียน
Out class: 23 สิงหาคม 2556
หลักสูตรการทำน้ำหมักชีวภาพ              
 
ความเป็นมา
          น้ำหมักชีวภาพ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเป็นของเหลวสีน้ำตาลโดยการสกัดอินทรีย์
วัตถุจากพืช ผักและผลไม้โดยวิธีธรรมชาติ ส่วนใหญ่จะเป็นการผลิตในระดับครัวเรือนและชุมชน โดยใช้เทคโนโลยีการผลิตพื้นบ้าน และมีสูตรและรูปแบบการผลิตที่แตกต่างกันไป อาทิเช่น การใช้จุลินทรีย์ในท้องถิ่น การใช้จุลินทรีย์เตรียมเฉพาะ การใช้น้ำตาล น้ำอ้อย น้ำผึ้งกากน้ำตาล ร่วมในกระบวนการผลิต เป็นต้น อีกทั้ง มีการเผยแพร่การใช้ประโยชน์ในหลายด้านได้แก่ ด้านสุขภาพ การเกษตรและสิ่งแวดล้อม
สำหรับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์น้ำหมักชีวภาพที่มีอยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลทางด้านการเกษตรและสิ่งแวดล้อม แต่สำหรับการบริโภค ยังพบปัญหาสำคัญได้แก่ ประชาชนยังขาดความรู้ ความเข้าใจ ขาดข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องของกระบวนการผลิต การบรรจุ การเก็บรักษา และการตรวจสอบคุณภาพซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำหมักชีวภาพ เพื่อให้มีความปลอดภัย และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภคอย่างแท้จริง ตระหนักถึงประสิทธิภาพในการใช้น้ำหมักชีวภาพ และประโยชน์ในการใช้น้ำหมักชีวภาพ  โดยมุ่งเน้นให้ความรู้ ความเข้าใจ และความสำคัญเกี่ยวกับน้ำหมักชีวภาพ การผลิต น้ำหมักชีวภาพเพื่อบริโภคในครัวเรือน ตลอดจนสุขลักษณะที่ดีของผู้ผลิต
 
ชุมชนบ้านขวาง  เป็นชุมชนที่มีอาณาเขต  ทางทิศเหนือติดต่อกับ หมู่ที่ 3 ตำบลท่างิ้ว ทางทิศใต้ติดต่อกับ หมู่ที่ 5 ตำบลนาทราย ทางทิศตะวันตกติดต่อกับ หมู่ที่ 4 ตำบลท่างิ้ว และทางทิศตะวันออกติดต่อกับ หมู่ที่ 3 ตำบลท่างิ้ว ชุมชนบ้านขวางชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา และรองลงมาก็คืออาชีพรับจ้าง ซึ่งรายได้ของหมู่บ้านเฉลี่ย 13,220,450 บาท/ปี ในชุมชนมีชาวบ้านที่นับถือศาสนาพุทธ 99% และนับถือศาสนาอิสลาม 1 %  การตั้งบ้านเรือนในชุมชนจะเรียงรายไปตามแนวสองข้างทางของถนน ชาวบ้านส่วนมากไม่เห็นความสำคัญของการใช้เงินที่ประหยัดและอดออม พบว่าเมื่อก่อนการทำนาของชาวบ้าน ส่วนใหญ่มีการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช แต่ตอนนี้มีการใช้น้ำหมักชีวภาพกันบ้างแล้ว และมีผู้ที่รู้เกี่ยวกับน้ำหมักชีวภาพน้อยมาก ทำให้ชาวบ้านบางส่วนต้องเอาเงินไปซื้อสารเคมี เพื่อการกำจัดศัตรูพืช
จากการสังเกต พบว่ามีชาวบ้านส่วนใหญ่จะใช้จ่ายเงินสิ้นเปลืองไปกับสารเคมี ซึ่งบ้างทีอาจจะทำให้มีสารเคมีตกค้างบ้าง เมื่อมองในภาพรวมแล้ว ชุมชนมีสภาพของชุมชนค่อนข้างอ่อนแอขาดการรวมกลุ่มที่ดี มีความสนใจในการรับรู้ข่าวสารน้อยมาก และขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ขาดประสบการณ์ในการประกอบอาชีพ จึงจัดเป็นชุมชนที่มีปัญหาอย่างยิ่ง ต่อการพัฒนาแนวคิดทางด้านเศรษฐกิจ ดังนั้นการสร้างจิตสำนึกในการใช้จ่าย อย่างประหยัด และเห็นคุณค่าทางด้านสิ่งแวดล้อมให้เกิดขึ้นกับประชาชนในชุมชนนี้ จึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น การสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนและพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ เกิดจิตสำนึก ตระหนัก และเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมสะอาดรอบชุมชน และการอยู่ร่วมกันของชุมชนจะนำไปลู่การมีส่วนร่วมและการพึ่งตนเองของชุมชน
จากข้อมูลดังกล่าว จึงสนใจที่จะทำการศึกษาเกี่ยวกับการทำน้ำหมักชีวภาพ ซึ่งจะได้นำไปใช้ประโยชน์ในการทำการเกษตร และใช้ในครัวเรือนซึ่งเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายของชาวบ้านในหมู่บ้าน
หลักการ
1.      เป็นหลักสูตรที่มุ่งให้ความรู้และส่งเสริมให้ชาวบ้านได้ลดค่าใช้จ่ายในด้านเกาตรกรรม
2.      เป็นหลักสูตรที่จัดทำขึ้น เพื่อตอบสนองต่อความอยู่ดีกินดีของประชากรในหมู่บ้าน
 
จุดประสงค์
1.      เข้าใจความหมายและความสำคัญของน้ำหมักชีวภาพ
2.      เข้าใจและสามารถจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์สำหรับการทำน้ำหมักชีวภาพ
3.      เข้าใจขั้นตอนและสามารถผสมส่วนประกอบต่างๆในการทำน้ำหมักชีวภาพ
4.      เข้าใจและสามารถผลปฏิบัติตามขั้นตอนการทำน้ำหมักชีวภาพต่างๆ ได้
5.      เข้าใจหลักวิธีการและสามารถนำน้ำหมักชีวภาพไปใช้ประโยชน์ได้
 
กลุ่มเป้าหมาย
1.      ประชาชนทั่วไปที่มีความต้องการเรียนรู้และศึกษาเกี่ยวกับการทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อการใช้ในชีวิตประจำวัน
2.      นักเรียนที่ต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับการทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อการศึกษาไปพัฒนาการเกษตร
 
ระยะเวลาเรียนและจำนวนหน่วยกิต
1.      ระยะเวลาของหลักสูตร
หลักสูตรการทำน้ำหมักชีวภาพใช้เวลาเรียน รวม 50  ชั่วโมง
1.1  เรียนรู้เนื้อหา จำนวน 14 ชั่วโมง
1.2  เรียนรู้จากการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมและการทำกิจกรรมตามที่กำหนด  จำนวน 36ชั่วโมง
2.      จำนวนหน่วยกิต
    หลักสูตรการทำน้ำหมักชีวภาพมีค่าเท่ากับ 5 หน่วยกิต (ระยะเวลาการเรียนรู้ 10 ชั่วโมงเท่ากับ 1หน่วยกิต)
โครงสร้างหลักสูตร
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับน้ำหมักชีวภาพ
-          ศึกษาเนื้อหาจำนวน 4 ชั่วโมง
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับน้ำหมักชีวภาพ
-          เนื้อหาศึกษาเนื้อหาจำนวน 4 ชั่วโมง
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 กรรมวิธีการทำน้ำหมักชีวภาพ
-          ศึกษาเนื้อหาจำนวน 3 ชั่วโมง
-          ทำกิจกรรมจำนวน 7 ชั่วโมง
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 น้ำหมักชีวภาพสูตรต่างๆ
-          ศึกษาเนื้อหาจำนวน 3 ชั่วโมง
-          ทำกิจกรรมจำนวน 12 ชั่วโมง
 
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ประโยชน์ของน้ำหมักชีวภาพและวิธีการนำไปใช้
-          ศึกษาเนื้อหาจำนวน 3 ชั่วโมง
-          ทำกิจกรรมจำนวน 14 ชั่วโมง
 
 
 
 

 
โครงสร้างหลักสูตร
 
 
 
 
 
เนื้อหาการเรียนรู้
จุดประสงค์การเรียนรู้
เนื้อหา
สื่อ/วัสดุอุปกรณ์
จำนวนชั่วโมง
ทฤษฎี
ปฏิบัติ
1.  ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับน้ำหมักชีวภาพ
1.      ผู้เรียนสามารถบอกความสำคัญ
ของน้ำหมักชีวภาพและสามารถบอการนำวัสดุในท้องถิ่นมาเป็นส่วนผสมได้
 
1.      ความหมายและความสำคัญของน้ำหมักชีวภาพ
2.      การนำวัสดุในท้องถิ่นมาเป็นส่วนผสม
–        ชุดวิชา
–        ภาพประกอบ\
–        วัตถุดิบ
4
 
2.  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับน้ำหมักชีวภาพ
1.      ผู้เรียนสามารถบอกข้อดีของการทำน้ำหมักชีวภาพและข้อควรรู้
2.      ผู้เรียนสามารถบอกข้อควรระวังในการใช้น้ำหมักชีวภาพ
 
1.      ข้อดีและจุดเด่นของการทำน้ำหมักชีวภาพ
2.      ข้อควรระวังในการใช้น้ำหมักชีวภาพ
 
–        ชุดวิชา
–        ภาพประกอบ\
 
4
 
 
 

 
 
 
รายวิชา
จุดประสงค์การเรียนรู้
เนื้อหา
สื่อ/วัสดุอุปกรณ์
จำนวนชั่วโมง
ทฤษฎี
ปฏิบัติ
3.  กรรมวิธีการทำน้ำหมักชีวภาพ
1.      ผู้เรียนสามารถบอกวิธีการเตรียมวัสดุสำหรับการทำน้ำหมักชีวภาพ
2.      ผู้เรียนสามารถบอกขั้นตอนการทำน้ำหมักชีวภาพ
3.      ผู้เรียนสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนการทำน้ำหมักชีวภาพได้อย่างถูกต้อง
1.      การเตรียมวัสดุสำหรับทำน้ำหมักชีวภาพ
2.      ขั้นตอนการทำน้ำหมักชีวภาพ
–        ชุดวิชา
–        ภาพประกอบ
–        วัตถุดิบในการทำน้ำหมักชีวภาพ
 
3
7
4.  น้ำหมักชีวภาพสูตรต่างๆ
1.      ผู้เรียนสามารถบอกขั้นตอนการทำน้ำหมักชีวภาพสูตรกำจัดศัตรูพืช
2.      ผู้เรียนสามารถบอกขั้นตอนการทำน้ำหมักชีวภาพสูตรซักล้าง
 
1.      สูตรกำจัดศัตรูพืช
2.      สูตรซักล้าง
 
–        ชุดวิชา
–        ภาพประกอบ
–        วัตถุดิบในการทำน้ำหมักชีวภาพ
 
3
12
 
 

 
 
 

รายวิชา
จุดประสงค์การเรียนรู้
เนื้อหา
สื่อ/วัสดุอุปกรณ์
จำนวนชั่วโมง
ทฤษฎี
ปฏิบัติ
5.  ประโยชน์ของน้ำหมักชีวภาพและวิธีการนำไปใช้
1.      ผู้เรียนสามารถบอกประโยชน์และวิธีการนำไปใช้น้ำหมักชีวภาพ
2.      ผู้เรียนสามารถบอกวิธีการดูแลและขั้นตอนการเก็บรักษาน้ำหมักชีวภาพได้อย่างถูกต้อง
3.      ผู้เรียนสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนการดูแลและการเก็บรักษาน้ำหมักชีวภาพได้อย่างถูกต้อง
1.      น้ำหมักชีวภาพใช้ในการเกษตร
2.      น้ำหมักชีวภาพใช้ในครัวเรือน
3.      ขั้นตอนการดูแลและการเก็บรักษา
–        ชุดวิชา
–        ภาพประกอบ
3
14
 
 
 
สื่อการเรียนรู้
 
            สื่อการเรียนรู้ตามหลักหลักสูตรการทำน้ำหมักชีวภาพนั้น ได้จัดทำเป็นรูปแบบของบอร์ดที่เกี่ยวข้องกับการทำน้ำหมักชีวภาพซึ่งจะจัดเกี่ยวกับการให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย โดยอาจจะเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญซึ่งอาจจะเป็นผู้เชี่ยวชาญทาการทำน้ำหมักชีวภาพ ซึ่งประกอบด้วยสื่อการสอน ดังนี้
 
1.      ใบประกอบการเรียนรู้ เช่น เอกสารเกี่ยวกับการทำน้ำหมักชีวภาพ
 
2.      วิดีโอ เกี่ยวกับการทำน้ำหมักชีวภาพซึ่งจะช่วยให้ผู้ฟังสนใจในเรื่องที่เราจะบรรยายมากกว่าการพูดเพียงอย่างเดียว ซึ่ง วิดีโอที่จะนำมาเป็นวิดีโอเกี่ยวกับการทำน้ำหมักชีวภาพ และให้ดูการเปรียบเทียบเชิงผลผลิตระหว่างผู้ที่ใช้สารเคมีกับการทำน้ำหมักชีวภาพ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักมากขึ้น
 
3.      กิจกรรมต่างๆ เพื่อให้กลุ่มชาวบ้านได้ทำน้ำหมักชีวภาพใช้เอง
 
 
 
กระบวนการเรียนรู้
 
 
 
ขั้นตอนที่ 1 สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรและวิธีการเรียนรู้ โดยการศึกษาข้อมูลจากคู่มือและวีดีทัศน์ปฐมนิเทศ บุคคลที่สามารถให้ความรู้ได้
 
 
 
ขั้นตอนที่ 2 วางแผนการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยในเบื้องต้นต้องเตรียมความพร้อมของตนเอง และเวลาเพื่อการเรียนรู้ ซึ่งในการวางแผนการเรียนรู้ต้องกำหนดระยะเวลาการศึกษา การทดลองและฝึกปฏิบัติในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ ผู้เรียนอาจปรับหรือยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสมกับพื้นฐานและประสบการณ์ที่มีอยู่ และตนเองต้องมีความรู้เพียงพอด้วย
 
 
 
ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาเนื้อหาและทำกิจกรรมหรือลงมือปฏิบัติ      
 
 

 
 
 
การวัดผลประเมินผล
 
 
 
ทำการวัดและประเมินผล โดยดูจากจำนวนผู้เข้าร่วมอบรมและให้ความรู้เรื่อง การทำน้ำหมักชีวภาพและจำนวนผู้เข้าร่วมทำกิจกรรมการทำน้ำหมักชีวภาพ ซึ่งเกณฑ์การประเมินผล 50% ของจำนวนประชากรทั้งหมด
 
 
 
การจบหลักสูตร
 
 
 
            กลุ่มผู้เรียนที่จะได้รับการพิจารณาให้จบหลักสูตรการทำน้ำหมักชีวภาพ จะต้องได้คะแนนการประเมินในส่วนของการเข้าร่วมอบรมและการเข้าร่วมกิจกรรมการทำน้ำหมักชีวภาพ ไม่น้อยกว่า 50%ของผู้เข้าอบรม
 
 

 
คณะผู้จัดทำ
 
ที่ปรึกษา
 
อาจารย์วัยวุฒ อินทวงศ์
 
รวบรวมเนื้อหาและจัดทำต้นฉบับ
 
 นางสาวรัตนาภรณ์   โกสล
 
ฝ่ายอุปกรณ์ สถานที่ และจัดทำสื่อ
 
 นายฐิตินันท์   อาจหนู
 
ผู้พิมพ์ต้นฉบับ
 
 นางสาวรัฐดาภรณ์   เกตุหนู

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น