วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การบันทึกการศึกษานอกห้องเรียน 01/07/56

บันทึกการเรียนรู้ในห้องเรียน

          วันที่ กรกฎาคม 2556 ดิฉันได้คึกษาเรื่องแนวความคิดและผลการศึกษาทางด้านจิตวิทยา ดังนี้
แนวความคิดจิตวิทยา คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต) , กระบวนความคิด, และพฤติกรรม ของมนุษย์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่นักจิตวิทยาศึกษาเช่น การรับรู้ (กระบวนการรับข้อมูลของมนุษย์) , อารมณ์, บุคลิกภาพ, พฤติกรรม, และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จิตวิทยายังมีความหมายรวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้กับกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน (เช่นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในครอบครัว, ระบบการศึกษา, การจ้างงานเป็นต้น) และยังรวมถึงการใช้ความรู้ทางจิตวิทยาสำหรับการรักษาปัญหาสุขภาพจิต นักจิตวิทยามีความพยายามที่จะศึกษาทำความเข้าใจถึงหน้าที่หรือจุดประสงค์ต่าง ๆ ของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคลและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคม ขณะเดียวกันก็ทำการศึกษาขั้นตอนของระบบประสาทซึ่งมีผลต่อการควบคุมและแสดงออกของพฤติกรรม
โครงสร้างของจิตวิทยาประกอบด้วยโครงสร้าง 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
1.      ลักษณะเนื้อหาวิชา แบ่งเป็นเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ พัฒนาการของมนุษย์, พันธุกรรม, ระบบการตอบสนอง, การรับรู้, การรู้สึก, แรงจูงใจ, อารมณ์, ภาษา การคิด และการแก้ปัญหา, เชาวน์ปัญญาและการทดสอบเชาวน์ปัญญา, บุคลิกภาพแบบต่าง ๆ และการประเมินบุคลิกภาพ, รูปแบบต่างๆของพยาธิสภาพทางพฤติกรรม, จิตบำบัด, และจิตวิทยาชุมชน
2.      เป้าหมายของจิตวิทยา เป้าหมายของการศึกษาได้มาจากวิธีการที่แตกต่างกัน 3 ประเภท ได้แก่
การวิจัยบริสุทธิ์หรือการวิจัยพื้นฐาน มาจากการค้นคว้าด้วยใจรัก ค้นหาหลักการของพฤติกรรมทั้งของมนุษย์และสัตว์ โดย ไม่ได้คำนึงว่าจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสังคมได้หรือไม่ ผู้วิจัยต้องเป็นผู้มีระเบียบแบบแผน มีจรรยาบรรณของนักวิจัย มีจริยธรรมและความเป็นกลางทางสังคม

ความมุ่งหมายและประโยชน์ มีดังนี้
1.      จุดมุ่งหมาย จิตวิทยาการศึกษาเน้นในเรื่องของการเรียนรู้ และการนำไปประยุกต์ในการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ตรงกับเป้าหมายการเรียนรู้อย่างแท้จริง จุดมุ่งหมายนี้ต้องครบทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านความคิด ด้านอารมณ์ และด้านการปฏิบัติ
2.      ด้านการเรียนการสอน ช่วยให้ครูเข้าใจเด็ก สามารถจัดการสอนให้สอดคล้องกับความ ต้องการ สนใจความถนัดเชาวน์ปัญญาของเด็ก
3.      ด้านสังคม ช่วยให้ครู นักเรียน เข้าใจตนและผู้อื่น ปรับปรุงพฤติกรรมตนเอง
4.      ปกครองและการแนะแนว ให้ครูเข้าใจเด็กมากขึ้น อบรมแนะนำ ควบคุมดูแลในเด็กอยู่ในระเบียบ เสริมสร้างบุคลิกภาพ ปรับตัวได้อย่างเหมาะสม
การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติจริง เป็นการเรียนรู้ในแบบ Learning by doing ผู้เรียนจะเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ แนวคิดนี้จะจัดการสอนแบบโครงการ (Project-based learning) เป็นการสอนที่ให้ผู้เรียนได้เรียนจากการปฏิบัติจริง เป็นการเรียนจากประสบการณ์ตรง ผู้เรียนได้ทดลองทำปฏิบัติ เสาะหาข้อมูล จัดระเบียบข้อมูล พิจารณาหาข้อสรุป ค้นคว้าหาวิธีการ กระบวนการด้วยตนเอง หรือร่วมกันเป็นกลุ่ม เน้นให้ผู้เรียนมีอิสระในการศึกษาหาความรู้ตามหลักประชาธิปไตยให้ผู้เรียนได้รู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่น ให้ได้ค้นคว้าหาข้อมูลความรู้จากแหล่งต่าง ๆ มิใช่เฉพาะในห้องเรียนเท่านั้น ทำให้ผู้เรียนเกิดนิสัยการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองได้ด้วยความมั่นใจ ผลการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีประสบการณ์ของจอห์น ดิวอี้ ดังนี้ 
1. ผู้เรียนมีความสุขกับการเรียนได้เรียนรู้อย่างสนุกสนานโดยผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย และสื่อที่เร้าความสนใจ 
2. ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความสนใจ ตามความถนัดและศักยภาพด้วยการศึกษา ค้นคว้า ฝึกปฏิบัติฝึกทักษะจนถึงการเรียนรู้ด้วยตนเองทำให้เกิดความเชื่อมั่นเป็นแรงจูงใจให้เกิดการใฝ่รู้ ใฝ่เรียน 
3. กิจกรรมกลุ่มช่วยเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์ เกิดกระบวนการทำงาน เช่น มีการวางแผนการทำงาน มีความรับผิดชอบ เสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีวินัยในตนเอง มีพฤติกรรมที่เป็นประชาธิปไตย เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี รู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ผู้เรียนที่เรียนรู้ช้าจะเรียนรู้อย่างมีความสุข มีชีวิตชีวา ได้รับกำลังใจและได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อน ทำให้เกิดความมั่นใจ ผู้เรียนที่เรียนดีจะได้แสดงความสามารถของตนเอง มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และแบ่งปันสิ่งที่ดีให้แก่กัน 
4. ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดจากการร่วมกิจกรรมและการค้นหาคำตอบจากประเด็นคำถามของผู้สอนและเพื่อน ๆ สามารถค้นหาคำตอบและวิธีการได้ด้วยตนเอง สามารถแสดงออกได้ชัดเจนมีเหตุผล 
5. ทุกขั้นตอนการจัดกิจกรรม จะสอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อให้ผู้เรียนได้ซึมซับสิ่งที่ดีงามไว้ในตนเองอยู่ตลอดเวลา 
6. คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลในการเรียนรู้และการปฏิบัติงาน โดยให้แต่ละคนเรียนรู้เต็มตามศักยภาพของตน ไม่นำผลงานของผู้เรียนมาเปรียบเทียบกัน มุ่งให้ผู้เรียนแข่งขันกับตนเองและไม่เล็งผลเลิศจนเกินไป 
7. ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน คือ ผู้เรียนเรียนอย่างมีความสุข เกิดการพัฒนารอบด้าน มีอิสระที่จะเลือกวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตนเอง และนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม 
 
วิลเลียม เจมส์ : นักคิดแห่ง ทฤษฎี ปฏิบัตินิยม
1. มีกระบวนการพิสูจน์ ความจริง พิสูจน์ให้เห็นจริง สามารถอธิบายได้ และก่อให้เกิดผลหรือ ประโยชน์ในประสบการณ์ของเรา
"อย่าหวาดกลัวชีวิต จงเชื่อมั่นว่า ชีวิตมีค่าควรแก่การดำรงอยู่แล้ว ความเชื่อของคุณ จะช่วยให้เป็นจริงตามนั้น" เมื่อมนุษย์พยายามหาสิ่งอื่นทดแทนสิ่งเหนือธรรมชาติ จึงเกิดความขัดแย้งในทางความคิดซึ่ง ณ จุดนี้เองทำให้ความคิดแบบวิทยาศาสตร์เริ่มเจริญขึ้น ความคิดแบบเทวนิยมค่อย ๆ เสื่อมลง จอห์น ดิวอี้ เชื่อว่า สิ่งเดียวที่มนุษย์สามารถทำได้คือ การเผชิญหน้ากับสถานการณ์ต่าง ๆและใช้สติปัญญาของตนจัดการ แกไขสถานการณ์นั้น เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าขึ้นมาขณะเดียวกันเราไม่สามารถคาดหมายหรือทำนายว่าความสำเร็จในอนาคตนั้นจำเป็นต้องเกิดขึ้น วิลเลียม เจมส์ เชื่อว่า ความคิดทั้งหลายทางปรัชญาสามารถนำไปสู่การปฏิบัติที่ให้ผลได้จริงในประสบการณ์ของเราในอนาคต คำว่า “เชิงปฏิบัติ (Pratical)” เขาหมายถึงสิ่งที่จับต้องได้ มีลักษณะเป็นสิ่งเฉพาะ และมีผลตามต้องการ จึงตรงข้ามกับสิ่งที่เป็นนามธรรม มีลักษณะทั่วไปและไม่ก่อผล ทัศนะของเจมส์” ปรัชญามีหน้าที่ของตนเอง คือ การหาทางที่จะทำให้ความคิดของคนเราไป ด้วยกันได้ ไม่ยึดมั่นในระบบใดระบบหนึ่งอย่างตายตัว
ดังนั้นเราจึงมีทางเลือกเสมอไม่ว่าจะใช้ทฤษฏีใด นอกจากนี้เขายังเชื่อว่า ปฏิบัตินิยมเป็นวิธีที่ทำให้ ความคิดแจ่มแจ้ง ซึ่งจะทำให้เราสามารถกำหนดรู้ ความหมายของความคิดนั้นได้โดยการทดลองนำความคิดนั้นมาปฏิบัติ และดูผลที่ เกิดขึ้นเป็นหลักสำคัญ ปฏิบัตินิยม คล้ายกับ ประสบการณ์นิยม คือ สนใจสิ่งที่ทดสอบได้ด้วยประสาทสัมผัส เน้นเรื่องข้อเท็จจริง มุ่งไปที่การกระทำ เปลี่ยนแปลงทัศนคติบางอย่างของปรัชญา คือลดความเป็นนักเหตุผลนิยมที่รุนแรงลง วิทยาศาสตร์และอภิปรัชญาเข้าใกล้กันมากขึ้น ทฤษฏีต่าง ๆ ที่อธิบายโลกและจักรวาลถูกนำมาใช้ ไม่หยุดที่ทฤษฏีใดทฤษฏีหนึ่ง ให้ทฤษฏีทั้งหลายเป็นเครื่องมือเพื่อทำให้เข้าใจโลกธรรมชาติ
การนำปฏิบัตินิยมไปแก้ปัญหา
2. มีกระบวนการนำทาง ความคิดที่ผ่านกระบวนการพิสูจน์แล้ว จะต้องสามารถเชื่อมโยงไปอธิบายเรื่องอื่นได้
 จากการที่ดิฉันได้ศึกษาการเรียนรู้แนวความคิดทางด้านจิตวิทยา ทำให้ดิฉันได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจิตวิทยามากมาย



นางสาวรัฐดาภรณ์    เกตุหนู
รหัสประจำตัว 5581103072
คณะครุศาสตร์  หลักสูตรคณิตศาสตร์ 02



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น